วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

วัฎจักรเศรษฐกิจ

  วัจักรเศรษฐกิจ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ซ้ำ ๆ กันของเศรษฐกิจ ซึ่งมี 4 ระยะ คือ ระยะรุ่งเรือง  ระยะถดถอย  ระยะตกต่ำ  และระยะฟื้นตัว  ในแต่ละระยะมีเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน  ในแต่ละระยะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเท่ากันเสมอไป และอาจใช้เวลาในแต่ละช่วงอยู่ระหว่าง 2 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในภาวะเศรษฐกิจ 
          สาเหตุการเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ  เกิดากสาเหตุภายนอกระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุภายในระบบเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจได้ แต่เมื่อเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะที่ไม่พึงปรารถนาแล้ว ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้

เงินเฟ้อเเละเงินฟืด

 เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป โดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ  สาเหตุองเงินเฟ้อ มี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง            เงินฝืด  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าละบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ  เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น  การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น
           ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด   สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา ประเทศพัฒนา หรือประเทศอุตสาหกรรม ถ้าเป็นภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างอ่อน ๆ ย่อมเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างปานกลางและอย่างรุนแรงแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศชาติ  การแก้ไขไม่สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงในระยะเวลาอันสั้น นอกจากใช้นโยบายทางการเงินและการคลังแล้ว ประชาชนในประเทศจะต้องร่วมมือด้วย เพราะประเทศชาติเป็นเรื่องของคนเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับระบบครอบครัว ซึ่งแก้ไขได้รวดเร็วกว่า

การผลิต

การผลิต  เป็นกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ
          อรรถประโยชน์ หมายถึง ความพึงพอใจที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
          อรรถประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ  เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือเจ้าของปัจจัยการผลิตต้องนำมาพิจารณาว่า สินค้าหรือบริการนั้น ๆ จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือมีอรรถประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด
          ปัจจัยการผลิต ได้แก่ เจ้าของที่ดิน  หมายถึงที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น ที่ตั้งสำนักงาน เจ้าของแรงงาน  หมายถึง การทำงานทุกชนิดของมนุษย์ทั้งที่ใช้แรงงานกำลังความคิด ความสามารถ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เจ้าของทุน  หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้หรือเงินทุนที่ใช้ในการซื้อหาปัจจัยการผลิตอื่น ๆ  ผู้ประกอบการ  หมายถึง บุคคลที่หรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งองค์การผลิตขึ้น เพื่อผลิตสินค้าและบริการ
          ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต  ในระบบการผลิตซึ่งต้องอาศัยปัจจัยการผลิต จึงจะทำให้ได้รับผลผลิตตามที่ต้องการ และสามารถนำออกจำหน่ายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ สำหรับเจ้าของปัจจัยการผลิตนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนดังนี้ เจ้าของทุน  ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย  เจ้าของแรงงาน  ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง เจ้าของที่ดิน  ค่าตอบแทนเป็นค่าเช่า ผู้ประกอบการ ค่าตอบแทนเป็นกำไร
          ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เนื่องจากการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ  ต้นทุนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่คงที่ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ต้นทุนผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปร ซึ่งจะมีปริมาณรายจ่ายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต ถ้าผลิตในปริมาณมากก็จะเสียต้นทุนมาก ถ้าผลิตปริมาณน้อยก็จะเสียต้นทุนน้อย และถ้าไม่มีการผลิตก็ไม่ต้องจ่ายเลย เช่น ค่าน้ำค่าไฟฟ้า
 

อุปสงค์และอุปทาน

เศรษฐศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา
เศรษฐศาสตร์ (อังกฤษ: Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและnomosแปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของบ้าน(ครัวเรือน)) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ
  1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ(เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)
  2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
  1. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)
  2. เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)
สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง
ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิคใหม่ (Neo - Classical Economics)

 จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์

แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง "ความมั่งคั่งของประชาชาติ" (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น
เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน "มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand)

 อุปสงค์และอุปทาน

ดูบทความหลักที่ อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

ระดับราคา

ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ของ อดัม สมิธ ได้กล่าวเอาไว้ว่า มักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวกสบาย ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและทฤษฎี อุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เป็นต้น
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในหลายๆ ตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้
มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็นปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามี ผลกระทบภายนอก ของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคาต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดู ต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎี สินค้าสาธารณะ

 ชนิดของเศรษฐศาสตร์